ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องมีการยื่นเสียภาษีปีละครั้งเป็นประจำทุกปี และแต่ละคนอาจมีเกณฑ์เงินได้ที่ต้องเสียภาษีแตกต่างกันไป แต่สำหรับมือใหม่ที่ต้อง ‘ยื่นภาษี’ เองเป็นครั้งแรกก็อาจจะมีคำถามเยอะหน่อย เช่น เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ มีหลักการคำนวณภาษีอย่างไร และจะใช้สิทธิลดหย่อนยังไงได้บ้าง ซึ่งข้อสงสัยทั้งหมดนี้เราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้ที่นี่แล้ว ลองไปดูกันเลย....
คือคนที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือนหรือ 120,000 บาทต่อปี ซึ่งนั่นก็หมายความว่าคนที่มี ‘เงินเดือน’ ต่ำกว่า 10,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีโดยไม่ผิดกฎหมาย และหากมีรายได้ทางอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน เช่น เป็นยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ หรือขายของออนไลน์ ที่มีรายได้เกิน 5,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า 60,000 บาทต่อปี ก็ต้องยื่นภาษีเช่นกัน
คือ คนที่มีเงินเดือนมากกว่า 18,333 บาทต่อเดือนหรือ 220,000 บาทต่อปี และมีรายได้จากช่องทางอื่นเกิน 10,000 บาทต่อเดือนและ 120,000 บาทต่อปี
หากคุณเป็นผู้ที่มีรายรับทางเดียวหรือเป็นพนักงานเงินเดือน รายได้ในการยื่นภาษีจะเท่ากับเงินเดือน แต่หากเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน และมีอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายรับเพิ่มได้ ก็เท่ากับว่าต้องเอาเงินเดือนกับรายได้เสริมมาคิดรวมกันเพื่อใช้ในการยื่นภาษีนั่นเอง
หลักการคำนวณภาษีสรุปได้ง่าย ๆ ตามสูตร ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
ซึ่งเงินได้สุทธิคือ รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว สูตรคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้ (รายได้ทั้งหมด) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน โดยที่ ‘ค่าใช้จ่าย’ จะถูกประเมินและหักเป็น 50% ของรายได้ทั้งหมด แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จากการประมาณการของกรมสรรพากร
เมื่อทราบสูตรการคำนวณแล้ว ก็ลองคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้
โดยทางกรมสรรพากรจะมีการแบ่งหลักเกณฑ์ว่าผู้มีรายได้เท่าไร จะถูกคิดอัตราภาษีเท่าไร ยิ่งมีรายได้มากก็จะโดนเก็บภาษีมากขึ้นตามรายได้ ซึ่งกรณีนี้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี คือผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
เป็นการคิดภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้หลายช่องทาง คือมีรายได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือนที่รวมกันแล้วมากกว่า 120,000 บาทต่อปี โดยจะคิดอัตราภาษี 5% จากคนกลุ่มนี้ และหากคำนวณภาษีในส่วนนี้ออกมาแล้วต่ำกว่า 5,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี
เมื่อทำสองขั้นตอนแรกเสร็จแล้ว ให้เปรียบเทียบดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ก็ให้เลือกเสียภาษีโดยวิธีนั้น
เมื่อรู้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีแล้ว หลายคนคงมองหาตัวช่วยที่เรียกว่าการ ‘ลดหย่อน’ อยู่แน่ ๆ เพราะหากต้องเสียภาษีเต็มจำนวนก็คงถึงกับเหงื่อตกหน้าซีดกันได้ ซึ่งไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะเราสามารถลดหย่อนภาษีได้จากหลากหลายวิธี ดังนี้
เป็นค่าลดหย่อนที่ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยส่วนมากจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น ค่าลดหย่อนคู่สมรสกรณีไม่มีเงินได้ ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ เป็นต้น
บรรดากองทุน และประกันชีวิตต่าง ๆ ที่เราซื้อไว้ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน SSF/RMF เบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เป็นต้น
การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล และมูลนิธิเพื่อการกุศลต่าง ๆ นอกจากจะได้บุญแล้ว เรายังสามารถขอใบกำกับภาษีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
เป็นค่าลดหย่อนที่มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น โครงการช้อปดีมีคืน เป็นต้น
สำหรับมือใหม่หลายคนที่ยังกังวลอยู่ ทำไม่เป็น หรือกลัวผิดพลาด สามารถรวบรวมเอกสารที่ต้องใช้ยื่นภาษี แล้วไปขอความช่วยเหลือที่สรรพากรเขตที่เราอาศัยอยู่ให้ช่วยดำเนินการกรอกเอกสารต่าง ๆ ให้ได้เลย หรือจะยื่นแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็ได้เช่นกันที่ https://www.rd.go.th