career


Hotelling’s law ขายของเหมือนกันทำไมถึงต้องอยู่ใกล้กัน


เมื่อเราไปเที่ยวทะเล สิ่งที่เราจะเห็นตามริมหาดได้อยู่บ่อยครั้งก็คือร้านขายของที่เรียงรายกันอยู่ตลอดทั้งหาด ซึ่งสิ่งของที่ขายในแต่ละร้านนั้นก็เรียกได้ว่าแทบจะไม่ต่างกัน โดยเป็นของกินของใช้ที่คนมาทะเลน่าจะได้ใช้ เช่น ร้านขายน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบ

ร้านขายชุดว่ายน้ำ บริการห้องน้ำและอาบน้ำ บริการเตียงผ้าใบ หรือแม้แต่ร้านรถเข็นขายส้มตำ ไก่ย่าง หมึกบด ที่สุดท้ายแล้วของที่ขายก็เป็นของแบบเดียวกันและคุณภาพเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นสุดท้ายแล้วร้านไหนจะขายดีที่สุดในหาด?
br
ถ้าหากคุณภาพสินค้าเหมือนกันทุกอย่าง แล้วอะไรจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราตัดสินใจซื้อเป็นสิ่งถัดไป? หลายคนน่าจะคิดเหมือนกันนั่นก็คือ ราคาและสถานที่ตั้งของร้านที่สะดวกต่อการซื้อนั่นเอง
br
แนวคิดนี้สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีที่เรียกว่า Hotelling’s law ที่คิดค้นโดย Harold Hotelling เป็นการบอกว่าธุรกิจที่เป็นคู่แข่งกัน เมื่อมาตั้งอยู่ใกล้กันอาจไม่ได้แย่งลูกค้ากันเสมอไป แต่ในทางตรงข้าม สิ่งนี้อาจส่งผลดีกับร้านค้าที่เป็นคู่แข่งกันมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป สำหรับทฤษฎีนี้จะใช้ได้กับร้านค้าที่ตั้งเป็นแนวยาวเรียงกันและมีลูกค้ากระจัดกระจายกันอยู่ทั่วบริเวณนั้น

br
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ร้านค้าที่ตั้งเรียงกันอยู่บนชายหาด โดยปกติแล้วหากเราต้องการซื้อของสักอย่างก็ต้องเสียเวลาและค่าเดินทาง (transportation cost) ในการออกไปซื้อ ซึ่งในเมื่อเป็นของที่เหมือนกัน เราก็คงเลือกร้านที่อยู่ใกล้เราที่สุด แล้วถ้าทุกคนบนชายหาดมีความคิดในการเลือกซื้อของแบบเดียวกันนี้ ถ้าอย่างนั้นจุดไหนล่ะที่จะเป็นจุดแบ่งลูกค้าของร้านค้าแต่ละร้าน ลองมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้นกัน

br

สมมุติว่าชายหาดมีความกว้าง 1 กิโลเมตร มีนายเอเปิดร้านขายน้ำอัดลมอยู่ต้นชายหาด ส่วนนายบีเปิดร้านขายน้ำอัดลมเหมือนกันแต่ตั้งอยู่ปลายชายหาด ถ้าทั้งสองร้านตั้งราคาขายเท่ากัน เราจะรู้ได้ทันทีว่า 500 เมตรถือเป็นจุดแบ่งลูกค้าของทั้งสองร้าน เพราะคนที่เดินมาจากต้นชายหาดก็จะไปซื้อร้านของนายเอ ในขณะที่คนที่เดินมาจากท้ายหาดก็จะไปซื้อร้านของนายบี
brbr

แต่ถ้าหากร้านของนายบีขายสินค้าราคาสูงกว่าร้านของนายเอ ก็จะทำให้จุดแบ่งลูกค้าของทั้งสองร้านเคลื่อนไปทางขวา (ต้นหาด) แทน เพราะลูกค้าจะยอมจ่ายค่าเดินทางมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่า ตามสูตร optimal location หรือ x* = (PB – PA + t)/2t จาก Hotelling’s law เมื่อ (PB-PA) เพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะทำให้นายเอมีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

br

โดยสรุปแล้วจากทฤษฎี Hotelling’s law เราจะเห็นได้ว่าถ้าหากตัดเรื่องคุณภาพสินค้าออกไปแล้ว เรื่องราคาและค่าเดินทางนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า ในขณะเดียวกันการที่ร้านค้าขยับทำเลที่ตั้งเข้ามาใกล้กันมากขึ้นก็ทำให้ระยะทางที่ลูกค้าต้องเดินทางมาซื้อของจากร้านเหล่านั้นไม่แตกต่างกันมากเช่นกัน ทำให้แต่ละร้านมีโอกาสในการขายพอ ๆ กัน ไม่ได้มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใคร