หรือการหั่นเวลาทำงานออกเป็นช่วง ๆ แล้วพักเบรกสั้น ๆ ให้ร่างกายได้รีเฟรช ป้องกันไม่ให้สมองอ่อนล้าเกินไป
“Pomodoro” เป็นภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า มะเขือเทศ เป็นแนวคิดการจัดการเวลาทำงานที่คิดค้นขึ้นโดย ฟรานเชสโก ซิริลโล (Francesco Cirillo) ในปลายทศวรรษ 1980 ซึ่งมีปัญหาในการโฟกัสกับการเรียนและการทำงานให้เสร็จ จึงปิ๊งไอเดียการบริหารเวลาทำงานมาจากนาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศในห้องครัว
1. สร้างรายการลิสต์งานที่ต้องทำ และหานาฬิกาจับเวลา
2. ตั้งเวลาไว้ที่ 25 นาที และโฟกัสกับงานนั้นจนกว่านาฬิกาจับเวลาจะดัง
3. เมื่อนาฬิกาดังเตือน ถือว่าจบหนึ่งช่วงการทำงานหรือหนึ่ง Pomodoro ให้กากบาท/ขีดฆ่างานที่ทำเสร็จแล้ว
4. จากนั้นหยุดพักเบรก 5 นาที
5. หลังจากทำครบ 4 Pomodoro (ได้มะเขือเทศครบ 4 ลูก) ให้พักเบรกได้ยาว 15-30 นาที
ถ้าเจองานใหญ่ที่ต้องใช้เวลาทำงานแบบมะเขือเทศมากกว่า 4 ลูก ก็จำเป็นต้องแบ่งงานชิ้นใหญ่นั้นออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือแบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ให้ทำเสร็จได้ทีละเฟส การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณเห็นความก้าวหน้าอย่างชัดเจนของโปรเจคใหญ่นั้น
งานที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ช่วง Pomodoro ควรถูกนำมาจัดรวมกันกับงานง่าย ๆ ชิ้นอื่น เช่น เช็คและตอบอีเมล ส่งนัดเชิญประชุม และอ่านบทความอัพเดทข่าวสาร ควรนำมาจัดอยู่รวมกันในหนึ่งช่วง Pomodoro (= มะเขือเทศ 1 ลูก)
Pomodoro เปรียบเสมือนหน่วยของเวลาชนิดหนึ่ง ที่เมื่อตั้งใจที่จะทำตามแล้ว ก็ไม่ควรหลุดโฟกัส หรือวอกแวกไปกับเรื่องอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามา เพราะหัวใจสำคัญคือการเพ่งสมาธิไปที่งานตรงหน้าตลอด 25 นาที โดยไม่สนใจอีเมล แชทไลน์ หรือข้อความ sms ที่เด้งขึ้นมาระหว่างนั้น
อย่างไรก็ตามหากมีสิ่งรบกวนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ อย่างสายด่วนจากเจ้านายหรือเรื่องฉุกเฉินจำเป็น ให้รับสายหรือจัดการธุระนั้นให้เสร็จ โดยถือเป็นการพักเบรก 5 นาทีไป แล้วจึงเริ่มช่วง Pomodoro ใหม่อีกครั้ง
แน่นอนว่าตามคอนเซปต์การทำงานแบบมะเขือเทศ จะขาดอุปกรณ์สำคัญอย่างนาฬิกาจับเวลาไปไม่ได้ ดังนั้นทุกครั้งที่จะเริ่ม Pomodoro จึงต้องหานาฬิกาจับเวลาซักเรือนมาตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน หรือถ้าอยากดูอินเทรนด์ เปลี่ยนจากนาฬิกาอนาล็อกมาใช้แอปพลิเคชั่นในยุคดิจิทัล สมัยนี้ก็มีหลากหลายแอปฯ ให้เลือกใช้ เพื่อการทำงานแบบโฟกัส ไม่มีสะดุด ได้แก่...
ใครสมาธิสั้น ทำงานทีไรชอบวอแวไปยุ่งเรื่องอื่น หรือหลุดโฟกัสอยู่บ่อย ๆ จนงานไม่เสร็จซักที ลองนำเทคนิคจัดการเวลาแบบมะเขือเทศหรือ Pomodoro ไปปรับใช้ดู แล้วจะรู้ว่ามันเวิร์คขนาดไหน!
_________________________
อ้างอิงจาก https://todoist.com/productivity-methods/pomodoro-technique