เพื่อให้จบครบตามหลักสูตรเป็นนักเรียนที่สมบูรณ์แบบ
แต่เดี๋ยวก่อน! สมัยนี้ชีวิตเราเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วินาที สิ่งที่เคยได้เรียนรู้ศึกษาจนสำเร็จก็อาจมีวันหมดอายุ ตกยุค เอาไปใช้ไม่ได้อีกเช่นกัน ยิ่งในยุคนี้ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราในแทบทุกมิติ ความรู้ที่เคยได้ร่ำเรียนมาอย่างช่ำชองอาจไม่ได้เป็นประโยชน์กับเราในวันข้างหน้าเสมอไป
ดังนั้นถ้าใครคิดว่าเรียนจบได้ปริญญา หรือใบประกาศรับรองคุณวุฒิมาแล้วก็ถือเป็นการสิ้นสุดการเรียนรู้ล่ะก็ อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะความรู้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามโลกและผู้คนเช่นกัน สิ่งที่เคยทำแล้วเวิร์คในอดีต อาจไม่ได้ผลเสมอไปเมื่อนำมาใช้ในปัจจุบันหรืออนาคต จึงเป็นที่มาของการเกิดแนวคิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ซึ่งถือเป็นทักษะที่หลายองค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ และอยากให้พนักงานในองค์กรมี เพื่อจะได้สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุค Digital Disruption
หากสรุปความหมายของ Lifelong Learning ตามคำอธิบายของ Oxford Handbook เราจะพอให้คำนิยามได้ว่า คือกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถส่วนตัวขึ้นทีละน้อย เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่จะช่วยผลักดันให้เกิดประสบการณ์ทางการเรียนรู้สั่งสมไปทั้งช่วงชีวิตของเรา
Lifelong Learning จึงเป็นคนละเรื่องกับการเรียนรู้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือการฝึกอบรมตามสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมักมีเวลาในการเรียนจำกัดตายตัวที่แน่นอน แต่การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นหมายถึง การเรียนรู้โดยเริ่มต้นจากตัวเองเป็นหลัก โดยโฟกัสไปที่การพัฒนาตนเอง และเติมเต็มเป้าหมายส่วนบุคคล (Personal fulfillment) ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดสิ้นสุดที่แน่นอน
โดยธรรมชาติของมนุษย์เราต่างก็มีความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัยเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นนักเรียนตามธรรมชาติอยู่แล้ว และนั่นก็ทำให้เราต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นตรงที่ มนุษย์สามารถเรียนรู้ พัฒนา และเติบโตจากสิ่งที่ได้เรียนนั้นได้
การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำให้คุณรู้สึกว่ามีเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ที่ชัดเจนขึ้น ได้โฟกัสกับสิ่งที่คุณสนใจ และช่วยเติมเต็มคุณค่าในการมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น เราขอแนะนำ 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณเป็นนักเรียนที่อยากเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้..
Lifelong Learning เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเองโดยตรง ดังนั้นคุณต้องรู้ว่าตัวเองมีความชอบความสนใจในเรื่องอะไร แล้วคุณวางแผนในอนาคตให้ตัวเองเป็นเช่นไร
การริเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ควรมาจากความชอบและความสนุกเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพาคุณไปสู่ปลายทางที่ต้องการ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถเป็น Lifelong Learning เช่น
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าคุณอยากเรียนรู้เรื่องไหน คราวนี้ลองสำรวจใจตัวเองให้ลึกขึ้นว่าปลายทางหรือเป้าหมายขั้นสูงสุดของสิ่งที่คุณสนใจนั้นคืออะไร คุณอยากบรรลุเป้าหมายนั้นในระดับไหน
เช่นถ้าคุณอยากเรียนเขียนโค้ด คุณอาจจะอยากเรียนไปเพื่อสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ สำหรับขายสินค้าของตัวเอง หรือความฝันของคุณอาจไปไกลกว่านั้นถึงขั้นกลายเป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นมืออาชีพที่ได้ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก
เพราะระดับของเป้าหมายที่แตกต่างก็นำไปสู่วิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันออกไปเช่นกัน
การจะบรรลุเป้าหมายส่วนตัวที่เป็น Lifelong Learning ให้สำเร็จนั้นก็ต้องเริ่มมาจากการรู้ว่าจะเริ่มต้นได้อย่างไร การอ่าน ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือสอบถามคนที่อยู่ในวงการนั้น ๆ จะช่วยนำทางให้เราได้ว่า ถ้าอยากเรียนรู้ในเรื่องนั้นจริง ๆ ควรเริ่มต้นจากอะไรก่อน
เช่นคนที่อยากเรียนโค้ดดิ้งเพื่อสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ อาจลองเข้าไปเรียนในคอร์สออนไลน์ฟรี ที่เปิดให้คนทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ ในขณะที่คนที่อยากเรียนโค้ดดิ้งเพื่อเป็นนักพัฒนาแอประดับโลก อาจต้องลงคอร์สเรียนเฉพาะทางเพื่อให้ได้ความรู้เชิงเทคนิคเพิ่มจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน รวมถึงต้องลองเข้าไปฝึกงานกับบริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และหาเวทีประกวดโชว์ศักยภาพจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อสร้างเครดิตให้ตัวเอง
การสร้างเป้าหมายการเรียนรู้สิ่งใหม่ให้กับตัวเองอาจเป็นเรื่องยากในตอนเริ่มต้น ถ้าคุณไม่หาเวลาและพื้นที่ว่างให้กับมันแล้วล่ะก็ การเรียนรู้ใหม่ ๆ นั้นก็คงเกิดขึ้นไม่ได้
การวางแผนและออกแบบตารางเวลาชีวิตในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็น เราอาจกำหนดไปเลยว่าจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อวันในการเรียนรู้ภาษาที่สาม หรือถ้ารู้สึกว่าทำได้ยากเกินไป ก็อาจลดลงเป็นเหลือ 15 นาทีต่อวัน แต่สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ ดังนั้นจงอย่าวางแผนในสิ่งที่เราคิดว่าจะทำไม่ได้ตั้งแต่แรก ซึ่งนั่นจะยิ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจตัวเองให้ไม่อยากจะเริ่มทำแต่แรกเลยด้วยซ้ำ
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าเป้าหมายในการเรียนรู้ของเราคืออะไร ปลายทางอยู่ที่ไหน จะทำมันให้สำเร็จได้อย่างไร พร้อมทั้งมีแผนการวางไว้ตรงหน้าแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำเลยก็คือ การลงมือทำอย่างจริงจังตามแผนที่วางไว้ ให้เวลากับการเรียนรู้สิ่งนั้นทุกวันทีละเล็กทีละน้อย และเลิกหาข้อแก้ตัวที่จะไม่ทำมันไปได้เลย
เมื่อความรู้เดิมมีวันหมดอายุ เราก็ต้องเติมเต็มสิ่งใหม่เข้าไปทดแทนให้ชีวิตเรามีคุณค่าและความหมาย นี่แหละการเป็นนักเรียนที่ไม่มีวันหมดอายุแบบ Lifelong Learning
_________________________