จนเริ่มคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริงละก็ นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการ “Maladaptive Daydreaming” หรือโรคฝันกลางวันก็เป็นได้
อีไล ซอมเมอร์ (Eli Somer) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ได้ระบุถึงสาเหตุของโรคฝันกลางวัน (Maladaptive Daydreaming) ว่า เป็นโรคที่เกิดจากการที่จิตใจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีต ทำให้ผู้ที่มีอาการนี้เลือกที่จะอยู่ในโลกของความฝันและจินตนาการอันหวือหวา เพื่อปกป้องตัวเองจากเหตุการณ์สะเทือนใจในชีวิต จนไม่อยากสนทนากับผู้คนรอบตัว หรือถึงขั้นทิ้งงานที่ทำอยู่ได้เลยทีเดียว
ถ้ามีอาการครบทั้ง 4 ข้อนี้ มั่นใจได้เลยว่าคุณเป็น โรคฝันกลางวัน เข้าให้แล้ว
ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้อย่างแน่ชัด และเป็นอาการที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีผลการวิจัยที่ระบุว่า ยาฟลาโวซามีน (Fluvoxamine) ที่ใช้รักษาอาการ Obsessive-compulsive disorder (OCD) สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน
สำหรับวิธีการรักษาทางการแพทย์ โดยทั่วไปจะเริ่มจากการสังเกตหาปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนี้ก่อน แล้วจึงให้การบำบัดฟื้นฟูเป็นกรณี ๆ ไป หรือบำบัดด้วยการให้ผู้ที่เป็นโรคนี้นอนหลับพักผ่อนมากขึ้น เพื่อลดการฝันจากการหลับไม่สนิท
ถึงแม้ความฝันจะสวยงามและน่าอยู่ขนาดไหน แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธการใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งความจริงได้อยู่ดี ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือการกล้าเผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้เรามีชีวิตที่มีความสุขยิ่งกว่าความฝันที่เคยจินตนาการขึ้นมา
Don’t dream your life, live your dreams.
_________________________
อ้างอิงจาก https://www.sleepfoundation.org/mental-health/maladaptive-daydreaming
https://www.healthline.com/health/mental-health/maladaptive-daydreaming#treatments